ทดสอบกลางภาคเรียน
คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข
กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้เสมอไป
กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป
ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้
จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิกกฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ที่ทุกคนต้องปฎิบัติตาม เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว
บุคคลหรือประชาชนจะพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตาม
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
เห็นด้วย เพราะ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ
ใบอนุญาตประกอบชาชีพนั้นแสดงถึงความมีประสิทธิภาพของตัวบุคคล
บุคคลนั้นได้ผ่านการทดสอบในด้านต่างๆ เช่น ด้านความรู้ ความสามารถในวิชาชีพนั้นๆ
นั่นแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มีทั้งด้านความรู้
และมีความสามารถในการประกอบวิชาชีพ และที่สำคัญ
เป็นหลักฐานการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
มีการจัดการระดมทัพยากร ทั้งชุมชน หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ทางด้านเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนรวม โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือแบ่งปันอุดหนุนกันอาจจัดในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งมีความสอดคล้องกันกับหน่วยงานอื่นในเรื่องของวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ร่วมกัน แหล่งทรัพยากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ คือ เงิน ทั้งที่ได้มาจากรัฐบาลและจากการระดมทุน ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องนำเงินที่ได้ไปใช้สำหรับการจัดหาทรัพยากรที่สำคัญต่อไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องศึกษาถึงข้อกำหนดในการบริหารเงินงบประมาณ ซึ่งในเรื่องนี้ต้องมีการนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้อย่างเต็มที่ นั่นคือ ต้องมีวินัยในการนำเงินไปใช้เพื่อจัดการศึกษา มีความซื่อสัตย์ในการใช้จ่ายเงินทุกบาท การเบิกจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด มีเอกสารยืนยันการทำงานทุกขั้นตอน และสามารถที่จะตรวจสอบย้อนหลังได้ และที่สำคัญก็คือ ทรัพยากรที่จัดหามาทั้งหลายนั้น ต้องมีความเหมาะสมกับสถานศึกษาของตน และต้องได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
รูปแบบการศึกษาที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดนั้นแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบเช่นนี้
หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน
ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ซึ่งเรารู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
การศึกษาในระบบอาจจัดในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกลก็ได้
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน
การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม
สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง
เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้
จึงเรียกว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย
ทั้งนี้รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชม การชมการสาธิต
การรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
เป็นต้น เนื่องจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิดร่วมมือกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยรูปแบบวิธีการต่าง
ๆ
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตามกฎหมายไทย
รัฐบาลจะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบให้เปล่าแก่ประชาชนเป็นเวลา 12 ปี ส่วนการศึกษาภาคบังคับในปัจจุบันกำหนดไว้ 9 ปี
ระบบโรงเรียนที่ถูกจัดไว้มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาตอนต้นตามลำดับ แต่หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตามข้อ (2) (3) (4) (5) และ (6) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตามข้อ (2) (3) (4) (5) และ (6) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ ครู
ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ
และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
๑. พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๙(๔) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
๒. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช๒๔๘๘ เป็นองค์กรวิชาชีพครูตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒และให้เป็นไปตามมาตรา ๗๓ โดยกำหนดให้มี
๒.๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกชื่อว่า “คุรุสภา” มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ
๒.๒ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของ
กระทรวงการศึกษา
๓. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
๑. พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๙(๔) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
๒. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช๒๔๘๘ เป็นองค์กรวิชาชีพครูตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒และให้เป็นไปตามมาตรา ๗๓ โดยกำหนดให้มี
๒.๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกชื่อว่า “คุรุสภา” มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ
๒.๒ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของ
กระทรวงการศึกษา
๓. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ไม่ผิด
หากบุคลากรผู้นั้นเป็นหนึ่งในกรณียกเว้น ดังนี้
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา (๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย (๓) นัก เรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง เป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด (๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย (๕) ผู้ ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด (๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน (๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา (๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา (๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย (๓) นัก เรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่ง เป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด (๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย (๕) ผู้ ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด (๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน (๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา (๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
โทษทางวินัยคือข้อกำหนดเมื่อข้าราชครูและบุคลากรทำผิดกฎระเบียบ
ซึ่งมี
5 สถาน
คือ
1ภาคทัณฑ์
2ตัดเงินเดือน
3 ลดขั้นเงินเดือน
4 ปลดออก
5 ไลออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
“เด็ก”
หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่
บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่
เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มี
พฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา
มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือ
บิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับ
ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถ
ช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ
ศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่
กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ
จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้ง นี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่
เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มี
พฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา
มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือ
บิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับ
ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถ
ช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ
ศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่
กำหนดในกฎกระทรวง
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ
จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้ง นี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น